วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ความหมาย ประวัติความเป็นมาของเพลงลูกกรุง เพลงย้อนยุค
ก่อนที่จะไปฟังเพลงลูกกรุงออนไลน์ เรามาดูความหมาย ประวัติความเป็นมาของเพลงลูกกรุงกันก่อนนะครับ ผมเชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่รู้จัก หรือไม่เคยได้ยิน ได้ฟังมาก่อน โดยเฉพาะวัยรุ่นในปัจจุบันแทบจะไม่รู้จักหรือไม่เคยฟังเลยก็ได้ และเพื่อเป็นการอนุรักษ์เพลงลูกกรุง ให้อยู่คู่กับคนไทยตลอดไปตราบนานเท่านาน ผมจึงได้ทำบล๊อกนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการเผยแพร่อีกทางหนึ่ง หากผิดพลาดหรือล่วงเกินบรมครูเพลง ประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เอาหล่ะงั้นเราไปดูความหมาย ประวัติความเป็นมาของเพลงลูกกรุง กันเลยดีกว่านะครับ
เพลงลูกกรุง เป็นเพลงไทยสากลประเภทหนึ่ง โดยเป็นเพลงที่บอกเล่า ถ่ายทอด ความรู้สึกของสังคม และคนเมืองหลวง ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายทอดอารมณ์ การขับร้อง น้ำเสียง ของกลุ่มนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรีจะมีรูปแบบ ประณีต ละเอียดอ่อน ออกมานุ่มนวล เนื้อร้องจะมีลักษณะเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง มีความหมายสลับซับซ้อน ยอกย้อน
ประวัติความเป็นมาของเพลงลูกกรุง
จากบางแหล่งข้อมูลเพลงลูกกรุงกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองฯ ในรัชกาลที่ 7 บางแหล่งบอกปลาย รัชกาลที่ 6 ประมาณ พ.ศ. 2455 โดยการจ้างครูจากอิตาลีนำเครื่องสายสากลเข้ามาสอน แต่เพลงลูกกรุงเริ่มชัดเจนเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2475 โดยเริ่มมีแนวเพลง เนื้อร้อง ทำนอง และเครื่องดนตรีที่ นำมาบรรเลงประกอบเป็นไทย นำทำนองเพลงของรัชกาลที่ 6 ที่นำมาเรียบเรียงเสียงประสานใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ เป็นเพลงในกิจการลูกเสือ ต่อมาได้มีการนำเพลง "ลาทีกล้วยไม้" ของขุนวิจิตรมาตรา มาทำในจังหวะรุมบ้าเพลงแรกของไทย และบทเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ และอื่นๆ ซึ่งแต่ง และใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ เป็นเครื่องบ่งบอกการกำเนิดของเพลงลูกกรุง
ปี พ.ศ. 2482 วงสุนทราภรณ์ก่อ ตั้งเป็นวงดนตรีวงใหญ่ ซึ่งทำให้สังคมเมืองในยุคนั้น เริ่มตื่นตัวการฟังเพลง ผู้ฟังและค่ายเพลงต่างๆ เริ่มจัดประเภทเพลง สร้างนักร้องให้มีรูปแบบความเป็นคนเมืองหลวง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักร้องต่างมีรูปแบบ หาแฟชั่นนำสังคม ทั้งเรื่องแฟชั่น การแต่งกาย มีคลับมีบาร์ แถวถนนราชดำเนิน ตามย่านชุมชน โรงแรมใหญ่ๆ มีห้องบอลรูม เพื่อให้มีการจัดแสดงดนตรีประกอบ และเริ่มมีการเปรียบเทียบระหว่างเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง
ศิลปินเพลงแนวลูกกรุง
* กำธร สุวรรณปิยะศิริ
* จินตนา สุขสถิตย์
* ชรินทร์ นันทนาคร
* ชาญ เย็นแข
* ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
* ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
* ทิพวัลย์ ปิ่นภิบาล
* ธานินทร์ อินทรเทพ
* นพดฬ ชาวไร่เงิน
* นริศ อารีย์
* บุษยา รังสี
* เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
* มัณฑนา โมรากุล
* รวงทอง ทองลั่นธม
* รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส
* วินัย จุลละบุษปะ
* สมยศ ทัศนพันธุ์
* สมศรี ม่วงศรเขียว
* สวลี ผกาพันธุ์
* สุเทพ วงศ์กำแหง
* อ้อย อัจฉรา
* เอื้อ สุนทรสนาน
* เป็นต้น
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/เพลงลูกกรุง
ป้ายกำกับ:
ความเป็นมา,
ความหมาย,
ที่มา,
ประวัติ,
เพลงลูกกรุง,
ศิลปินเพลงลูกกรุง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น